วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิชาศิลปะ

ในวิชาทัศนศิลป์ ทฤษฎีสี เป็นการแนะแนวทางปฏิบัติสำหรับผสมสีและผลทางตาของการผสมสีบางอย่าง มีนิยาม (หรือหมวดหมู่) ของสีโดยอาศัยวงล้อสี ได้แก่ แม่สี สีทุติยภูมิและสีตติยภูมิ แม้หลักการทฤษฎีสีปรากฏครั้งแรกในงานเขียนของเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี (ประมาณ ค.ศ. 1435) และสมุดบันทึกของเลโอนาร์โด ดา วินชี (ประมาณ ค.ศ. 1490) ประเพณี "ทฤษฎีสี" เริ่มจริง ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เดิมเป็นการโต้เถียงแบบยึดพรรคพวกเกี่ยวกับทฤษฎีสีของไอแซก นิวตัน (Opticks, 1704) และธรรมชาติของแม่สี นับแต่นั้น มีการพัฒนาเป็นประเพณีศิลปินอิสระและมีการอ้างอย่างผิวเผินถึงการวิเคราะห์เคมีของสี (colorimetry) และทัศนวิทยาศาสตร์ (vision science)
แม่สี สีทุติยภูมิและสีตติยภูมิในแบบจำลองสี RYB

แม่สี (Primary Color)[แก้]

คือสามสีขั้นต้น ที่เมื่อผสมกันก็จะทำให้เกิดสีอื่นๆต่อไป แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 (Secondary Color)[แก้]

สีที่เกิดจากแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับ สีเหลือง ได้ สีส้ม
สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน ได้ สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับ สีน้ำเงิน ได้ สีเขียว

สีขั้นที่ 3 (Tertiary Color)[แก้]

สีที่เกิดจาก แม่สี ผสมกับ สีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่นๆ อีก 6 สี คือ
สีแดง ผสมกับ สีส้ม ได้ สีส้มแดง
สีแดง ผสมกับ สีม่วง ได้ สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับ สีเขียว ได้ สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับ สีเขียว ได้ สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับ สีม่วง ได้ สีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับ สีส้ม ได้ สีส้มเหลือง

สีคู่ตรงข้าม (Complementary Color)[แก้]



คือ สีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงล้อสี หรือวิธีการจับคู่ง่ายๆ ก็คือการลากเส้นจากสีหนึ่งไปตรงๆ เส้นนั้นไปบรรจบที่สีใด สองสีนั้นก็เป็นคู่กัน

วิชาคริสต์ศาสนา

พระเยซู (อังกฤษJesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (อังกฤษJesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33[10]) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าและเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า[11] แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า[12] และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอล[13]เช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด[14]
คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους [Iēsoûs] ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua [เยชูวา] ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός [Christos] ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรูMessiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น
เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี

ประวัติของพระเยซู

ปฐมวัย

ประสูติเมื่อ 4 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี หญิงพรหมจารีคนหนึ่งชื่อมารีย์ ได้หมั้นหมายไว้แล้วกับชายคนหนึ่งชื่อโยเซฟ ก่อนที่จะได้อยู่กินด้วยกัน ได้มีทูตสวรรค์กาเบรียลเข้าบ้านมาหามารีย์แล้วว่า “เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย จงตั้งชื่อบุตรนั้นว่าเยซู” [15] ฝ่ายโยเซฟเมื่อทราบว่ามารีย์ตั้งครรภ์แล้ว ก็ไม่คิดจะแพร่งพรายเรื่องนี้ จึงคิดจะถอนหมั้นอย่างลับ ๆ แต่มีทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “โยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของเจ้าเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิ์ในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” [16] โยเซฟจึงทำตามคำนั้น คือได้รับมารีย์มาเป็นภรรยา แต่มิได้สมสู่กับเธอ
ขณะที่มารีย์กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น จักรพรรดิออกัสตัสได้มีรับสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน คนทั้งปวงต่างต้องเดินทางกลับไปขึ้นทะเบียนยังเมืองของตน โยเซฟกับมารีย์จึงต้องเดินทางจากเมืองนาซาเร็ธ แคว้นกาลิลีไปยังเมืองของดาวิดเมืองหนึ่งชื่อเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดีย เพราะโยเซฟเป็นเชื้อสายของดาวิด เมื่อเขาทั้งสองอยู่ที่นั่น ก็ถึงเวลาที่มารีย์ประสูติ “นางจึงประสูติบุตรชายหัวปี เอาผ้าอ้อมพันและวางไว้ในรางหญ้า เพราะว่าไม่มีที่ว่างให้เขาในโรงแรม” [17]
ต่อมามีทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันแล้วบอกว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดาหนีไปประเทศอียิปต์ และคอยอยู่ที่นั่นจนกว่าเราจะบอกเจ้า เพราะว่าเฮโรดจะแสวงหากุมาร เพื่อจะประหารชีวิตเสีย” [18] โยเซฟจึงพากุมารและมารดาหนีไปยังประเทศอียิปต์ เนื่องจากกษัตริย์เฮโรดทราบว่าได้มีกุมารผู้ที่บังเกิดมาเพื่อจะเป็นกษัตริย์ของชนชาติยิว และทราบจากบรรดามหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ว่า กุมารนั้นอยู่ที่เบธเลเฮม จึงใช้ให้คนไปฆ่าเด็กผู้ชายทั้งหลายในบริเวณนั้นที่มีอายุตั้งแต่สองขวบลงมา ครั้นเฮโรดสิ้นพระชนม์แล้ว ทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดามายังแผ่นดินอิสราเอล เพราะผู้ที่เป็นภัยต่อชีวิตของกุมารนั้นตายแล้ว” [19] โยเซฟจึงพากุมารกับมารดากลับมาอยู่เมืองนาซาเร็ธ
เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ที่บันทึกเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูในช่วงระยะเวลาตั้งแต่อายุ 12 ปีจนพระเยซูทรงรับบัพติศมาที่แม่น้ำจอร์แดนไม่ได้ถูกบันทึกไว้มากนัก ชาวคริสต์เรียกช่วงเวลานี้ว่าพระชนม์ชีพเร้นลับของพระเยซู แต่เรื่องราวของพระเยซูตั้งแต่รับบัพติสมาจนสิ้นพระชนม์ที่กางเขน แล้วกลับฟื้นคืนพระชนม์ชีพอีกครั้งถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด

ประกอบพระภารกิจ

พระเยซูทรงรับบัพติศมาเมื่ออายุได้ 30 ปีจากยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่แม่น้ำจอร์แดน “ครั้นพระองค์ทรงรับพิธีบัพติศมาในน้ำแล้วในทันใดนั้นก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และท้องฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ได้ทรงเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าดุจนกพิราบ ลงมาสถิตอยู่บนพระองค์” [20] หลังจากนั้นพระเยซูเสด็จไปในถิ่นทุรกันดาร เป็นเวลาถึงสี่สิบวันสี่สิบคืนโดยไม่ได้เสวยอะไรเลย แต่กลับมีมารมาผจญพระองค์โดยการล่อลวงต่าง ๆ นา ๆ เพื่อหวังให้พระเยซูกราบลงนมัสการมาร แต่พระเยซูได้ตอบโต้มารด้วยพระธรรมจากคัมภีร์ฮีบรู จนมารเห็นว่ามิอาจล่อลวงพระองค์ได้จึงละพระองค์ไป [21]
พระองค์ทรงเริ่มพระกิจจานุกิจโดยออกสั่งสอนชนทั้งปวงให้กลับใจจากความบาป แล้วเดินตามทางของพระเจ้าอย่างแท้จริง อย่าแสร้งทำเป็นนับถือพระเจ้าแต่ปาก “ประชาชนนี้ให้เกียรติเราแต่ปาก ใจของเขาห่างไกลจากเรา” [22] ทรงสอนมิให้ทำตนเป็นเหมือนพวกหน้าซื่อใจคด “เหตุฉะนั้น ทุกสิ่งซึ่งเขาสั่งสอนพวกท่าน จงถือประพฤติตาม เว้นแต่การประพฤติของเขาอย่าได้ทำตามเลย เพราะเขาเป็นแต่ผู้สั่งสอน แต่เขาเองหาทำตามไม่” [23] พระองค์ยังตรัสพระธรรมคำสั่งสอนและทรงพระราชกิจไว้อีกมากมาย ซึ่งถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนังสือ 4 เล่มแรก ได้แก่ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น
ในการทรงพระราชกิจของพระเยซูนั้น พระองค์ได้ทรงเรียกบุคคลต่าง ๆ เข้ามาเป็นสาวก เพื่อสั่งสอนและมีส่วนช่วยพระองค์อีก 12 คน ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าอัครทูต ได้แก่ ซีโมนเปโตร อันดรูว์ (น้องชายของซีโมน) ยากอบ บุตรเศเบดี ยอห์น (น้องชายของยากอบ) ฟีลิป บารโธโลมิว โธมัส มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร ยากอบ บุตรอัลเฟอัส เลบเบอัส (ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัดเดอัส) ซีโมนเศโลเท และยูดาส อิสคาริโอท (ผู้ที่อายัดพระเยซู) [24]

สิ้นพระชนม์

ผลของการที่พระเยซูออกประกาศ, สั่งสอน, รักษาโรค และทำการต่าง ๆ มากมาย ทำให้มีคนเป็นจำนวนมากติดตามพระองค์ไป “กิตติศัพท์ของพระองค์ก็เลื่องลือไปทั่วประเทศซีเรีย เขาจึงพาคนป่วยเป็นโรคต่างๆ คนที่ทนทุกข์เวทนา คนผีเข้า คนเป็นลมบ้าหมูและคนเป็นอัมพาตมาหาพระองค์ พระองค์ก็ทรงรักษาเขาให้หาย และมีคนหมู่ใหญ่มาจากแคว้นกาลิลี และแคว้นทศบุรีและกรุงเยรูซาเล็ม และแคว้นยูเดีย และแม่น้ำจอร์แดนฟากตะวันออกติดตามพระองค์ไป” [25] “ครั้นพระเยซูเสด็จขึ้นจากเรือแล้ว ก็ทรงเห็นประชาชนหมู่ใหญ่ พระองค์ทรงสงสารเขา จึงได้ทรงรักษาคนป่วยของเขาให้หาย” [26] “และประชาชนเป็นอันมากมาเฝ้าพระองค์ พาคนง่อย คนแขนขาพิการ คนตาบอด คนใบ้ และคนเจ็บอื่นๆหลายคน มาวางแทบพระบาทของพระเยซู แล้วพระองค์ทรงรักษาเขาให้หาย” [27] ในทางตรงกันข้ามคำสั่งสอนของพระองค์ต่อว่าพวกฟาริสีและพวกธรรมาจารย์โดยตรง “เขาชอบที่อันมีเกียรติในการเลี้ยงและในธรรมศาลา กับชอบรับการคำนับที่กลางตลาด และชอบให้เขาเรียกว่า ‘ท่านอาจารย์’” [28] “วิบัติแก่เจ้า คนนำทางตาบอด เจ้าสอนว่า ‘ผู้ใดจะสาบานอ้างพระวิหาร คำสาบานนั้นไม่ผูกมัด แต่ผู้ใดจะสาบานอ้างทองคำของพระวิหาร ผู้นั้นจะต้องกระทำตามคำสาบาน’ โอ คนโฉดเขลาตาบอด สิ่งไหนจะสำคัญกว่า ทองคำหรือพระวิหารซึ่งกระทำให้ทองคำนั้นศักดิ์สิทธิ์” [29] “วิบัติแก่เจ้า พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี คนหน้าซื่อใจคด เพราะว่าเจ้าเป็นเหมือนอุโมงค์ฝังศพซึ่งฉาบด้วยปูนขาว ข้างนอกดูงดงาม แต่ข้างในเต็มไปด้วยกระดูกคนตาย และสารพัดโสโครก เจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้นแหละ ภายนอกแลดูเหมือนว่าเป็นคนชอบธรรม แต่ภายในเต็มไปด้วยความเท็จเทียมและอธรรม”[30] พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีจึงคิดหาช่องทางจะฆ่าพระองค์เสีย “ฝ่ายพวกฟาริสีก็ออกไปปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรจึงจะฆ่าพระองค์ได้”เพราะเขาไม่รู้ว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด[31]
อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงทราบว่า พระองค์จะต้องทนทุกข์ทรมานจากพวกมหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ จนต้องถูกประหารชีวิต แต่ในวันที่สามพระองค์จะทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาใหม่ ดังที่พระองค์ได้ทรงทำนายถึงเหตุการณ์ดังกล่าวล่วงหน้าไว้สามครั้ง [32] หลังจากนั้นหนึ่งในสาวกสิบสองคน ชื่อยูดาสอิสคาริโอท ได้ไปหาพวกมหาปุโรหิตแล้วตกลงว่าจะคอยหาช่องที่จะชี้พระองค์ให้จับ เพื่อแลกกับสามสิบเหรียญเงิน ซึ่งเรื่องที่ยูดาสคิดจะทรยศต่อพระองค์นั้น พระองค์ก็ทรงทราบเช่นกัน[33]
เมื่อถึงวันต้นเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ พระองค์กับเหล่าสาวกได้เข้าไปในบ้านหลังหนึ่งในกรุงเยซูซาเล็ม เพื่อร่วมเสวยปัสกาด้วยกัน อาหารที่พระองค์ได้เสวยในคืนนั้นประกอบด้วยขนมปังและน้ำองุ่น ซึ่งก็เป็นอาหารค่ำมื้อสุดท้ายที่พระองค์ได้เสวยก่อนสิ้นพระชนม์ เพราะหลังจากที่ได้เสวยอาหารแล้ว ยูดาสสาวกคนหนึ่งในสิบสองคนนั้นได้ออกจากบ้านไป พวกสาวกที่เหลือไม่ทราบว่ายูดาสไปไหน แต่พระเยซูทราบว่ายูดาสจะไปหาพวกปุโรหิตและพวกฟาริสี เพื่อพาทหารมาจับพระองค์
หลังจากยูดาสออกไปจากบ้านแล้ว พระองค์ตรัสคำสอนแก่พวกสาวกอีกหลายข้อ ก่อนที่จะเสด็จพาพวกเขาออกจากบ้านข้ามห้วยขิดโรนไปยังสวนเกทเสมนี ในขณะนั้นเป็นเวลากลางคืนพระองค์เสด็จห่างจากพวกสาวกออกไปไกลประมาณขว้างหินตกแล้วอธิษฐานต่อพระเจ้า เมื่อกลับมาพบว่าพวกสาวกต่างหลับกันหมด พระองค์จึงปลุกพวกเขาให้ตื่นขึ้นอธิษฐาน แล้วพระองค์ทรงกลับไปอธิษฐานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกลับมาทรงเห็นสาวกนอนหลับกันอีก พระองค์จึงเสด็จกลับไปอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สาม เมื่อกลับมาครั้งนี้พระเยซูทรงปลุกพวกสาวกให้ตื่นขึ้น ทันใดนั้น ยูดาสได้พาทหารกับเจ้าหน้าที่ของพวกปุโรหิตและฟาริสีพร้อมอาวุธเข้ามา ยูดาสตรงมาหาพระเยซูแล้วจูบคำนับพระองค์ คนเหล่านั้นก็เข้ามาจับพระองค์ เปโตรมีดาบจึงชักออกฟันถูกหูข้างขวาของมัลคัส ซึ่งเป็นทาสคนหนึ่งของมหาปุโรหิต พระเยซูตรัสว่า “จงเอาดาบของท่านใส่ฝักเสีย ด้วยว่าบรรดาผู้ถือดาบจะต้องพินาศเพราะดาบ ท่านคิดว่าเราจะขอพระบิดาของเราไม่ได้หรือ และในครู่เดียวพระองค์จะประทานทูตสวรรค์แก่เรากว่าสิบสองกอง แต่ถ้าเช่นนั้นพระคัมภีร์ที่ว่า จำจะต้องเป็นอย่างนี้ จะสำเร็จได้อย่างไร” [34] แล้วสาวกทั้งหมดก็ได้พากันหนีไป
พระเยซูถูกพาไปบ้านของคายาฟาสซึ่งเป็นมหาปุโรหิตประจำการ ทั้งพวกธรรมาจารย์และมหาปุโรหิตต่างพยายามหาพยานเท็จมาปรักปรำพระองค์ แต่ถึงแม้มีพยานเท็จหลายคนให้การก็ไม่สามารถหาหลักฐานได้ ในที่สุดมหาปุโรหิตจึงถามถึงความเป็นพระคริสต์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ยอมรับว่าเป็นพระคริสต์ มหาปุโรหิตจึงยุยงคนทั้งปวงว่า พระเยซูพูดหมิ่นประมาทพระเจ้าเพราะยกตนเองขึ้นเป็นพระคริสต์ คนทั้งปวงจึงต้องการให้ปรับโทษพระเยซูถึงตาย
เมื่อยูดาสเห็นว่าตนเองทำบาป โดยอายัดพระเยซูผู้บริสุทธิ์ให้ถึงแก่ความตาย ยูดาสก็เกิดสำนึกกลับใจนำเงินที่ได้ไปคืนให้พวกมหาปุโรหิต แต่คนเหล่านั้นไม่สนใจ ยูดาสจึงทิ้งเงินไว้แล้วออกไปผูกคอตาย
พอรุ่งเช้า พวกเขาได้พาพระเยซูไปหาปีลาต ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น พวกเขาได้ฟ้องพระเยซูด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ แต่หลังจากปีลาตได้สอบถามพระองค์แล้ว ไม่พบว่ามีความผิดประการใดจึงคิดจะปล่อยพระองค์ แต่พวกเขายืนยันว่า คนนี้ยุยงพลเมืองให้วุ่นวาย [35] เมื่อปีลาตทราบว่าพระองค์เป็นชาวกาลิลี ซึ่งอยู่ในท้องที่ของกษัตริย์เฮโรด ปีลาตจึงส่งพระเยซูไปหาเฮโรดเพื่อให้ตัดสินความแทน ฝ่ายเฮโรดมีความยินดีเป็นอันมากที่จะได้พบพระเยซูเพราะเคยได้ยินกิตติศัพท์มานาน หวังว่าพระเยซูจะแสดงอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ให้ชมบ้าง แต่เมื่อพระเยซูไม่ได้ทำการใด เฮโรดและพวกทหารจึงได้แต่ดูหมิ่นเยาะเย้ยและส่งพระองค์กลับมาหาปีลาตอีก ปีลาตจึงสั่งมหาปุโรหิต พวกขุนนางและราษฎรให้ประชุมพร้อมกัน และกล่าวแก่เขาว่า “ท่านทั้งหลายได้พาคนนี้มาหาเรา ฟ้องว่าเขาได้ยุยงราษฎร ดูเถิด เราได้สืบถามต่อหน้าท่านทั้งหลาย และไม่เห็นว่าคนนี้มีความผิดในข้อที่ท่านทั้งหลายฟ้องเขานั้น และเฮโรดก็ไม่เห็นว่าเขามีความผิดด้วย เพราะเฮโรดได้ส่งตัวเขากลับมายังเราอีกแล้ว ดูเถิด คนนี้ไม่ได้ทำผิดอะไรซึ่งสมควรจะมีโทษถึงตาย เหตุฉะนั้นเมื่อเราเฆี่ยนเขาแล้ว เราก็จะปล่อยเสีย” [36]
ในตอนนั้นเป็นช่วงเทศกาลปัสกา เป็นธรรมเนียมที่เจ้าเมืองจะปล่อยนักโทษคนหนึ่งให้แก่หมู่ชนตามใจชอบ คราวนั้นมีนักโทษคนหนึ่งชื่อ บารับบัส ต้องโทษเพราะฆ่าคน ปีลาตถามพวกเขาว่า ต้องการให้ปล่อยผู้ใดระหว่างพระเยซูกับบารับบัส มหาปุโรหิตก็ยุยงหมู่ชนให้ขอให้ปล่อยบารับบัส พวกเขาจึงตอบว่า บารับบัส และให้ตรึงพระเยซูที่กางเขน ส่วนปีลาตยังพยายามจะปล่อยพระเยซูอีกถึงกับถามพวกเขาซ้ำอีกสามครั้ง เมื่อพวกเขายืนยันตามเดิม ปีลาตก็เอาน้ำล้างมือต่อหน้าหมู่ชน เพื่อแสดงว่าเขาไม่มีส่วนรับผิดชอบด้วยกับการประหารพระเยซู แล้วปีลาตได้สั่งปล่อยบารับบัสและให้โบยตีพระเยซูก่อนนำไปตรึงที่กางเขน
พระเยซูทรงถูกพวกทหารของปีลาตโบยตีและหยามพระเกียรติหลายประการ [37] พระวรสารสหทรรศน์กับพระวรสารนักบุญยอห์นระบุเหตุการณ์จากนี้ต่างกันคือ พระวรสารสหทรรศน์ต่างระบุว่าเมื่อพระเยซูถูกตัดสินโทษแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ให้ซีโมนชาวไซรีนมาแบกกางเขนของพระเยซูตั้งแต่ต้น[38][39][40] แต่พระวรสารนักบุญยอห์นกลับระบุว่าพระเยซูเป็นผู้แบกกางเขนโดยไม่เอ่ยถึงซีโมนชาวไซรีนเลย[41] เมื่อมาถึงกลโกธาพระองค์ทรงถูกตรึงที่กางเขนพร้อมกับผู้ร้ายสองคน ข้างขวาคนหนึ่งและข้างซ้ายอีกคนหนึ่ง พวกขุนนางต่างกล่าวคำเยาะเย้ยพระองค์ ฝ่ายพวกทหารจับฉลากกันว่า ใครจะได้ฉลองพระองค์ไป (ยอห์น 19:24) หลังจากนั้น พระเยซูทรงทราบว่าทุกสิ่งสำเร็จแล้ว จึงตรัสว่า 'พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์' ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์" [42]
ในวันนั้นเป็นวันศุกร์ พวกยิวไม่ต้องการให้ศพค้างอยู่บนกางเขนจนถึงวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันสะบาโต จึงมาขอให้ปีลาตทุบขาของผู้ที่ถูกตรึงให้หัก แล้วจะได้เอาศพลงจากกางเขน พวกทหารจึงมาทุบขาของผู้ร้ายทั้งสองคนที่ถูกตรึงอยู่กับพระเยซูจนเสียชีวิต เมื่อมาถึงพระเยซูและเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว พวกทหารไม่ได้ทุบขาพระองค์ แต่ใช้ทวนแทงที่สีข้างของพระองค์ โลหิตและน้ำก็ไหลออกจากร่างกายของพระองค์
โยเซฟแห่งอาริมาเธียได้ขอพระศพพระเยซูจากปีลาต เอาผ้าป่านกับเครื่องหอมพันพระศพของพระองค์ตามธรรมเนียมชาวยิว แล้วเชิญพระศพไปประดิษฐานไว้ในอุโมงค์ฝังศพใหม่ที่ยังไม่ได้ฝังศพผู้ใดเลย ซึ่งอยู่ในสวนแห่งหนึ่งในตำบลที่พระองค์ถูกตรึงนั้น แล้วกลิ้งก้อนหินขนาดใหญ่ปิดปากอุโมงค์ไว้ [43] ส่วนพวกมหาปุโรหิตและพวกฟาริสีไปหาปีลาต ขอให้วางยามเฝ้าหน้าอุโมงค์ให้แข็งแรง เพราะกลัวว่าสาวกจะมาลักพระศพพระเยซูไป ปีลาตจึงสั่งให้ทหารไปประทับตราที่หินและเฝ้ายามหน้าอุโมงค์ไว้ [44]

กลับคืนพระชนม์

ครั้นวันที่สามผ่านไป เหล่าพวกผู้หญิงได้มาที่อุโมงค์ ทันใดนั้นเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ยิ่งนัก ทูตของพระเจ้าองค์หนึ่งได้กลิ้งก้อนหินออกจากปากอุโมงค์ แล้วกล่าวแก่หญิงนั้นว่า พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ชีพจากความตายแล้ว และให้ไปยังแคว้นกาลิลีจะได้พบพระองค์ที่นั่น หญิงเหล่านั้นจึงไปจากอุโมงค์โดยเร็ว วิ่งไปบอกสาวกของพระเยซู ฝ่ายทหารที่เฝ้าอุโมงค์ได้เข้าไปในเมืองแล้วเล่าเหตุการณ์นั้นให้มหาปุโรหิตฟัง เมื่อพวกเขาปรึกษากันแล้วก็แจกเงินเป็นอันมากให้พวกทหาร โดยสั่งให้พูดกันทั่วไปว่า พวกสาวกแอบมาลักเอาศพไปในตอนกลางคืน ครั้นพวกทหารได้รับเงินแล้วก็ทำตามนั้น บรรดาพวกยิวจึงเชื่อตามคำของทหารเหล่านั้น
หลังจากการคืนพระชนม์ของพระเยซูแล้ว พระองค์ทรงปรากฏให้เหล่าสาวกและคนเป็นจำนวนมากได้เห็นเพื่อจะได้เชื่อ เป็นพยานและวางใจในพระองค์ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าพวกเขา "เมื่อพระองค์ตรัสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าก็ทรงรับพระองค์ขึ้นไปต่อหน้าต่อตาเขา และมีเมฆคลุมพระองค์ให้พ้นสายตาของเขา" [45]

การอัศจรรย์ของพระเยซู

คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ได้บันทึกว่าพระเยซูได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ในจำนวนนั้นคือ การรักษาคนเป็นโรคเรื้อนให้หาย [46], การรักษาคนตาบอด [47], รักษาคนง่อยให้เดินได้[48], รักษาคนหูหนวกให้ได้ยิน [49], รักษาหญิงตกโลหิตให้หาย [50], ทรงขับผีออก (มาระโก 7:24-30), การชุบชีวิตคนตาย [51], การทวีขนมปังและปลา [52], เปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่นในงานแต่ง [53], การเดินบนน้ำ [54], การทรงทราบล่วงหน้าถึงอนาคตและสิ่งต่างๆ และการกลับคืนพระชนม์ชีพหลังสิ้นพระชนม์ไปครบ 3วัน

การตรึงที่กางเขนและการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่าการตรึงพระเยซูที่กางเขนเกิดขึ้นตอนเช้า "เมื่อเขาตรึงพระองค์ไว้นั้นเป็นเวลาเช้าสามโมง" [55] และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนในเวลาบ่าย "เวลานั้นประมาณเวลาเที่ยง ก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน จนถึงบ่ายสามโมง ดวงอาทิตย์ก็มืดไป ม่านในพระวิหารก็ขาดตรงกลาง พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า 'พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์' ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์" [56] หลังจากนั้นพระองค์เสด็จกลับฟื้นคืนพระชนม์ในวันที่ 3 "แต่เช้ามืดในวันต้นสัปดาห์ ผู้หญิงเหล่านั้นจึงนำเครื่องหอมที่เขาได้จัดเตรียมไว้มาถึงอุโมงค์ เขาเหล่านั้นเห็นก้อนหินกลิ้งพ้นจากปากอุโมงค์แล้ว และเมื่อเข้าไปมิได้เห็นพระศพของพระเยซูเจ้า" [57] "หญิงเหล่านั้นก็ไปจากอุโมงค์โดยเร็ว ทั้งกลัวทั้งยินดีเป็นอันมาก วิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์ ดูเถิด พระเยซูได้เสด็จพบเขาและตรัสว่า 'จงจำเริญเถิด' หญิงเหล่านั้นก็มากอดพระบาทนมัสการพระองค์ พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า 'อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังกาลิลี จะได้พบเราที่นั่น'" [58] บุคคลที่พระเยซูทรงปรากฏให้เห็นก่อนที่จะเสด็จขึ้นสู่ฟ้าสวรรค์ ได้แก่ มารีย์ชาวมักดาลา [59], เคลโอปัสและศิษย์อีกคนหนึ่งซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุชื่อ [60], สาวกทั้งสิบเอ็ดคน [61], สาวกเจ็ดคน [62] พระเยซูทรงประทับอยู่กับเหล่าสาวกราว 40 วัน และเสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าพวกเขา "เมื่อพระองค์ตรัสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าก็ทรงรับพระองค์ขึ้นไปต่อหน้าต่อตาเขา และมีเมฆคลุมพระองค์ให้พ้นสายตาของเขา" [63]

วิชาคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุมข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล

สารสนเทศในความหมายของข้อความ[แก้]

สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาด ปริมาณและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการรบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพหรือคำพูด ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน


วิชาดนตรี

าฏยศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ[1] "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา
การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้น ๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "ฮ่าวหนาน" กับคำว่า "ศัพท์" ดังนี้

ประเภทของนาฏยศัพท์[2][แก้]

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. นามศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
2. กิริยาศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
หมายถึง ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์นอกเหนือไปจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง

นาฏยภาษา[แก้]

นาฏยภาษาหรือภาษาท่าทาง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ทั้งผู้ถ่ายทอดสาร (ผู้รำ) และผู้รับสาร (ผู้ชม) จำเป็นจะต้องเข้าใจตรงกัน จึงจะสามารถเข้าใจในความหมายของการแสดงออกนั้นได้อย่างถูกต้อง
การถ่ายทอดภาษาด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ชาวสยามเรารู้จักใช้และเข้าใจกันมานานแล้ว จึงทำให้ภาษาการฟ้อนรำนี้พัฒนาด้วยกระบวนการทางอารยธรรมจนกลายเป็น "วิจิตรศิลป์" ดังนั้น อารยชนผู้ที่จะสามารถเข้าใจในภาษาท่าทางเหล่านี้ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้รำเสียก่อน จึงจะสามารถดูละครรำของไทย