วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิชาสุขศึกษา

โภชนาการคืออะไร
โภชนาการเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของอาหารต่อสุขภาพของร่างกาย
อาจมีผู้สงสัยว่า  มนุษย์รู้จักกินมาตั้งแต่เกิด และกินกันมาตั้งแต่เมื่อมีมนุษย์อยู่ในโลกแล้ว  ทำไมจะต้องมาเรียนวิชาโภชนาการด้วย ก็อาจกล่าวได้ว่า  การกินโดยไม่มีความรู้ย่อมเป็นเหตุให้ป่วยไข้และสุขภาพทรุดโทรมได้โดยง่าย  เนื่องจากการขาดสารอาหารได้ทั้ง ๆ ที่มีอาหารอยู่เต็มกระเพาะ  เพราะไม่รู้จักกิน  สถิติแสดงว่าในระยะ ๕๐ ปีมานี้  ความรู้ในเรื่องโภชนาการได้ช่วยให้คนอายุยืนยาวเพิ่มจาก ๔๕ ปีเป็น ๗๐ ปี ช่วยให้สูงขึ้น ๕ เซนติเมตร และน้ำหนักเพิ่มขึ้น ๕ กิโลกรัม ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนา  ยังเป็นโรคขาดอาหารกันมาก  อายุเฉลี่ยของคนจะอยู่ระหว่าง ๓๓-๕๐ ปีเท่านั้น  เนื่องจากอัตราตายของทารกและเด็กสูง และสุขภาพก็ไม่ดี
สารอาหารคืออะไร
ในทางโภชนาการ  เราแบ่งอาหารออกได้เป็น ๖ พวก ตามส่วนประกอบทางเคมี  และตามหน้าที่อันพึงมีต่อร่างกาย เรียกสารอาหารหรือธาตุอาหาร ดังนี้
๑.  ธาตุน้ำตาล  ช่วยให้พลังงานและความร้อนแก่ร่างกาย
๒.  ธาตุไขมัน  ช่วนให้พลังงานและความร้อน กับให้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย
๓.  ธาตุเนื้อ  ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและซ่อมแซมสิ่งสึกหรอ ช่วยสร้างกำลังเพื่อต้านทานโรค  ให้พลังงาน และให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย
๔.  เกลือแร่  มีอยู่หลายสิบชนิดด้วยกัน  ช่วยในการสร้างกระดูก ฟัน และเลือด ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ กับช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
๕.  วิตามิน  มีอยู่กว่าสิบชนิด  แบ่งออกได้เป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายในน้ำและที่ละลายในน้ำมัน  ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
๖.  น้ำ  มีความสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของเซลล์  ช่วยการไหลเวียนของเลือด การย่อยอาหารและการขับถ่าย ช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้น ความสำคัญของน้ำต่อร่างกายนั้นมีมาก  เพราะเป็นส่วนประกอบถึง ๗๐℅ ของน้ำหนักตัว จะเห็นได้ง่าย ๆ ว่าในรายที่ท้องร่วง  จะทำให้ร่างกายหมดเรี่ยวแรงจนถึงกับตายได้
ทั้งนี้เนื่องจากการที่ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่ที่ละลายอยู่ในน้ำนั่นเอง  ฉะนั้นนอกจากเราจะได้รับน้ำจากอาหารต่าง ๆ แล้ว ยังต้องดื่มน้ำอีกวันละหลาย ๆ แก้ว
อาหาร ๕ หมู่
เนื่องจากอาหารที่เรากินนั้นมีมากมาย  แต่ละชนิดก็มีธาตุอาหารอยู่มากน้อยแตกต่างกันไปตามธรรมชาติ  จึงนิยมจัดเข้ารวมไว้เป็นพวกเป็นหมู่  โดยถือเอาความสำคัญที่จะได้รับประโยชน์ของธาตุอาหารเป็นหลัก  ดังนี้
๑.  หมู่ข้าว  มีธาตุน้ำตาลเป็นสำคัญ  ได้แก่ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล เผือก มัน และของหวานต่าง ๆ
๒.  หมู่เนื้อ  มีธาตุเนื้อเป็นสำคัญ  นอกจากนี้ยังมีเกลือแก่และวิตามินด้วยได้แก่เนื้อสัตว์  นม ไข่ ปลา หอย เลือด อวัยวะเครื่องใน และพวกถั่วนานาชนิด
๓. หมู่ไขมัน  มีธาตุไขมันเป็นสำคัญ มีวิตามินที่ละลายในไขมันได้วย  ได้แก่น้ำมันจากพืชและจากสัตว์ เช่นน้ำมันหมู น้ำมันรำ น้ำมันถั่ว ไข่แดง เนย นม และมะพร้าว
๔.  หมู่ผัก  มีเกลือแร่และวิตามิน
๕. หมู่ผลไม้ มีเกลือแร่ วิตามิน และธาตุน้ำตาล
นอกจากนี้ยังมีเครื่องปรุงรสต่าง ๆ  ซึ่งช่วยให้รสชาติหรือกลิ่นของอาหารดีขึ้น เช่น เครื่องเทศ น้ำปลา พริกป่น พริกไทย น้ำส้ม ฯลฯ ถึงแม้ว่าเราจะกินกันไม่มากมายนัก  แต่ก็นับว่ามีความสำคัญในการที่ช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น กับช่วยให้ร่างการได้รับธาตุเนื้อ เกลือแร่ และวิตามินบางอย่างด้วย แต่ถ้ากินมากเกินไป  เช่นพริกหรือเครื่องเทศ ก็อาจเป็นผลร้าย ทำให้เกิดเป็นโรคแผลของกระเพาะอาหารได้  จึงต้องพึงระวัง และโดยที่ร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารหลายอย่าง  ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายแตกต่างกัน  แต่ไม่มีอาหารชนิดใดเพียงชนิดเดียว  ที่จะมีสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย  ดังนั้นในวันหนึ่ง ๆ เราจึงต้องกินอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่ เพื่อให้ได้ธาตุอาหารครบถ้วน
ภาวะโภชนาการในคนไทย
จากการสำรวจภาวะโภชนาการในคนไทยเรา ปรากฎว่าผู้ที่มีฐานะดีหรือชาวกรุงชักจะเริ่มเป็นโรคอ้วนกันมาก  ส่วนผู้ที่อยู่ตามชนบทยังเป็นโรคขาดอาหารกันมาก  โดยเฉพาะคือธาตุเนื้อ-ทำให้เกิดโรคตาลขโมย  ขาดวิตามินเอ-ทำให้เป็นโรคตาฟาง ขาดวิตามินบีหนึ่ง-ทำให้เป็นโรคเหน็บชา  ขาดวิตามินบีสอง-ทำให้เกิดเป็นโรคปากนกกระจอก  ขาดธาตุเหล็ก-ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง  ขาดธาตุไอโอดีน-ทำให้เป็นโรคคอพอก  ขาดธาตุแคลเซี่ยม-ทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน  ทั้งนี้เนื่องจากเรายังไม่รู้จักกิน หรือกินไม่เป็น เข้าใจไปว่าการกินข้าวมากจนอิ่มท้องก็เป็นการเพียงพอแล้ว  โดยที่ไม่รู้ถึงความสำคัญของสารอาหารแต่ละชนิด  รวมทั้งเกลือแร่ และวิตามิน เราจึงกินข้าว(ธาตุน้ำตาล)กันมากเกินไป แต่หย่อนธาตุเนื้อและไขมัน  ฉะนั้น จึงควรลดข้าวให้น้อยลง และกินกับให้มากขึ้น  ถ้าหากเป็นถิ่นที่เนื้อสัตว์หายาก  ก็พึงกินพวกถั่วต่าง ๆ รวมทั้งอาหารซึ่งทำจากถั่ว เช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ เต้าหู้ยี้  ซึ่งใช้แทนพวกเนื้อสัตว์ได้ดี  ส่วนพวกมะพร้าว ถั่ว และน้ำมันพืช  ก็ใช้แทนพวกไขมันสัตว์ได้ดี
อนึ่ง  พึงระลึกไว้เสมอว่า ยอดอาหารของมนุษย์นั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ นมและไข่  โดยที่มีสารอาหารต่าง ๆ เกือบครบถ้วน ฉะนั้น ผู้ที่เกรงว่าจะเป็นโรคขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง  จึงควรกินนมและไข่เป็นครั้งคราว หรือถ้ากินเป็นประจำได้ก็ยิ่งดี
อีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นสาเหตุช่วยให้ประชาชนเป็นโรคขาดอาหาร  ก็คือการที่มีพยาธิลำไส้อยู่มาก  โดยที่พยาธินานาชนิดเหล่านี้จะคอยดูดเลือด และแย่งอาหารดี ๆ ในลำไส้ไปใช้ ฉะนั้น จึงจำต้องจัดการถ่ายพยาธิออกเสียให้หมด และอบรมประชาชนให้รู้จักกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะด้วย

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิชาลูกเสือ-เนตรนารี

กิจการการลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (อังกฤษLord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี (อังกฤษBrowmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

ประวัติกิจการ[แก้]

ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ ( เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 ) ในวัยเด็กโพเอลล์ ชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ 19 ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา โพเอลล์เป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยจึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน หลังจากปลดประจำการแล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. 2450 โพเอลล์ได้รวบรวมเด็ก 20 คน ให้ไปอยู่กับเขาที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง โพเอลล์ ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ 80 ปี และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่ประเทศเคนยา
ลูกเสือมาจากคำว่า SCOUT ซึ่งมีความหมายดังนี้[ต้องการอ้างอิง]
  • S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
  • C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
  • O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
  • U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
  • T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

การลูกเสือในประเทศไทย[แก้]

ดูบทความหลักที่: คณะลูกเสือแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”
กิจการลูกเสือในประเทศไทยยังคงได้รับการสืบสานให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับนับจนปัจจุบัน โดยมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ
ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย
1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 8 – 11 ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)
2. ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ 11 – 16 ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)
3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 13 – 18 ปี คติพจน์: มองไกล (Look Wide)
4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover) อายุ 16 - 25 ปี คติพจน์: บริการ (Service)